วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน วันที่ 27 สิงหาคม 2558
        - วันนี้เรียนการใช้โปรแกรม Adobe Flash เป็นการเรียนการทำให้ภาพและตัวอักษรเคลื่อนไหวเบื้องต้น ในการเรียนในวันนี้ได้รับความรู้เรื่องคำศัพท์เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆในโปรแกรม
1. Text Tool = ใช้สำหรับใส่ตัวอักษร
2.Selection Tool = ใช้สำหรับลากหรือกดให้ภาพหรือข้อความไปที่ต่างๆ
3. Free Transform Tool = ใช้สำหรับยืดขยายหรือหดภาพ
        - ได้เรียนการหมุนภาพ การทำให้ภาพและตัวอักษรเคลื่อนที่ไปมา
        -  การปรับสีและขนาดตัวอักษร

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทคนิกการสอน "คณิตศาสตร์"
การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย(Deductive  Method)
1. ความหมาย การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย(Deductive  Method)หมายถึกระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ  ทฤษฎี  หลักเกณฑ์  ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน  จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง  หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี   หลักการ หลักเกณฑ์  กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย   หรืออาจเป็นหลักลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี  กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น  การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์  ทฤษฎี  ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า  เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด
2.ขั้นตอนการสอน การสอนแบบนิรนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.)  ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา  เป็นการนำเข้าสูบทเรียนโดยการเสนอปัญหาหรือระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา  เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ  ปัญหาที่จะนำเสนอควรจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
             2. )   ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี  หลักการ  เป็นการนำเอาทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปที่ต้องการสอนมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎี  หลักการนั้น
              3. )   ขั้นใช้ทฤษฎี  หลักการ  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้
              4. )    ขั้นตรวจสอบและสรุป  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ว่าถูกต้อง  สมเหตุสมผลหรือไม่  โดยอาจปรึกษาผู้สอน  หรือค้นคว้าจากตำราต่างๆ  หรือจากการทดลอง  ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริง  จึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
             5.)    ขั้นฝึกปฏิบัติ  เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  พอสมควรแล้ว  ผู้สอนเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่หลากหลาย
            3. ประโยชน์
                   1.  เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่าย  รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก 
2.  ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก
3.   ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
4.   ใช้ได้ผลดีในการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษาและคณิตศาสตร์
5.   ฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
     แหล่งอ้างอิง  https://sites.google.com/site/prapasara/15-1  นายอุรุพงษ์ โคดี 51314519 เอกคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ 

การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม(Questioning Method)
          1.ความหมาย
                   การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม(Questioning Method)เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
          2. ขั้นตอนการสอน
                  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถามมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้                                                       
                              1.)ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ ของบทเรียน
                              2. )ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์ 
                              3.)ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสม กับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
                      4.) ขั้นสรุปและประเมินผล
             4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
             4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริ
          3. ประโยชน์
1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6. ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
ที่มาของข้อความ http://mathlearning54.blogspot.com/
ตัวอย่างสื่อเทคโนโลยีและแหล่งการสืบค้นประกอบ การเรียนรู้คณิตศาสตร์

1) อุปกรณ์พกพา (handheld devices)
อุปกรณ์พกพาที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น เครื่องคํานวณเชิงกราฟ และ เครื่องเก็บ ข้อมูลภาคสนาม เป็นสื่อการเรียนรู้ชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมาก มีหน่วยความจําซึ่งสามารถใช้งานได้หลายอย่างคล้ายกัคอมพิวเตอร์ แต่มีขนาดเล็ก พกพาติดตัวได้สะดวก ใช้ได้ ทุก สถานที่แม้ไม่มีไฟฟ้าก็สามารถใช้งานได้ ข้อดีที่เห็นได้ชัดคือการใช้งานง่ายและเห็นภาพที่ สมบูรณ์ของฟังก์ชันต่างๆ ได้ ทําให้การเรียนสามารถสร้างกราฟได้อย่างรวดเร็ว สามารถแยกเป็น ส่วน ๆ ได้ และสามารถเปรียบเทียบลักษณะกราฟของแต่ละฟังก์ชันได้ นักเรียนที่ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีในการเรียนเกี่ยวกับการคํานวณ การเขียนกราฟ และสัญลักษณ์ทาง คณิตศาสตร์ ช่วยให้นักเรียนสามารถสรุปมโนทัศน์ และสาระสําคัญได้ด้วยตนเอง ช่วยพัฒนา ความคิดทางคณิตศาสตร์ และช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น โดยครูมีบทบาทเป็นผู้ อํานวยความสะดวกและจัดสภาพการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการ เรียนรู้ของนักเรียน ในปัจจุบันได้มีคอมพิวเตอร์พกพาออกมาใช้บ้างแล้ว ต่อไปบทบาทของอุปกรณ์พกพาดังที่ กล่าวมาข้างต้น จะมีมากขึ้น ซึ่งจะยังประโยชน์ต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย
2) Learning Object
ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมมือกับ Curriculum Corporation (CC) และ The Learning Federation (TLF) ประเทศออสเตรเลีย ดําเนินโครงการพัฒนาสื่อดิจิทัลประกอบหลักสูตรระดับโรงเรียน ที่นํามาทดลองใช้ในประเทศ ไทย โดยปรับให้เข้ากับบริบทหลักสูตรของประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาขึ้นตามความต้องการของ ผู้ใช้หลักสูตรคือครูและนักเรียน เน้นการพัฒนามัลติมิเดียเพื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่ เรียกว่าLearning Object ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่ออกแบบเพื่อให้นักเรียนบรรลุผลการ เรียน รู้ที่คาดหวังอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะในแต่ละเรื่อง ครูผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย ตามวัตถุประสงค์ทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนร่วมพัฒนาและผลิตสื่อ ต้นแบบ เป็นการส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานสื่อดิจิทัล รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตสื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูล การใช้ได้จากสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันส่ง เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ที่มารูปภาพ https://goo.gl/7n6Tdk

3) โปรแกรม Microsoft Excel
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดโปรแกรมMicrosoft Office ซึ่งเป็น โปรแกรมที่มีใช้ในสํานักงาน หน่วยงานต่างๆ การให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมนี้ จึงเป็น การเตรียมบุคลากรของประเทศให้สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีก ทางหนึ่ง โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสร้างตารางคํานวณในลักษณะต่าง ๆ เช่น กระดาษ ทดทั่ว ๆ ไป ตารางข้อมูล และบัญชีรายรับ - รายจ่าย การเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ของ ข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ครูสามารถเลือกนํามาใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ได้หลายลักษณะ เช่น การคํานวณดอกเบี้ย กําไร - ขาดทุน และการเขียนแผนภูมิ

4) ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการเรียนรู้แบบออนไลน์ เป็นการใช้เทคโนโลยี เพื่อการ เรียนรู้ที่ตอบสนองความสนใจของนักเรียน ให้สามารถแสวงหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจได้ สิ่ง ที่สําคัญในการสร้ากระบวนการเรียนรู้ จึงเริ่มจากการที่ครูต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับ เทคโนโลยีและกระบวน การต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการบูรณาการสร้างความรู้ ตลอดจนการ สร้างรูปแบบการศึกษาแนวใหม่ที่นําเครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาใช้ผสม ผสานช่วยในการศึกษาและโดยธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียนเองก็จะเป็นผู้แสวงหาและใฝ่หาเพื่อการ เรียนรู้อยู่แล้ว ครูจึงเสมือนเป็นผู้เสริมแต่งและสร้างแนวทาง รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการ เรียนรู้ เน้นวิธีการเรียนรู้แนวใหม่ที่สามารถเรียนรู้ร่วมกันทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน โดย ไม่จํากัดเวลา สถานที่ และบุคคล ครูจึงควรแนะนําเว็บไซต์ที่น่าสนใจและเหมาะสมแก่นักเรียน รวมทั้งอาจกําหนดให้นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้จากเว็บไซต์เหล่านั้น เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียน ได้เห็นประโยชน์ของการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
ที่มาของข้อมุล http://siwarin-kenthawi.blogspot.com/2011/09/blog-post_16.html

เทคนิกการสอนง่ายๆคะ^^


ที่มาของวิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=hhAgMRx8dXE