วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน วันที่ 27 สิงหาคม 2558
        - วันนี้เรียนการใช้โปรแกรม Adobe Flash เป็นการเรียนการทำให้ภาพและตัวอักษรเคลื่อนไหวเบื้องต้น ในการเรียนในวันนี้ได้รับความรู้เรื่องคำศัพท์เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆในโปรแกรม
1. Text Tool = ใช้สำหรับใส่ตัวอักษร
2.Selection Tool = ใช้สำหรับลากหรือกดให้ภาพหรือข้อความไปที่ต่างๆ
3. Free Transform Tool = ใช้สำหรับยืดขยายหรือหดภาพ
        - ได้เรียนการหมุนภาพ การทำให้ภาพและตัวอักษรเคลื่อนที่ไปมา
        -  การปรับสีและขนาดตัวอักษร

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทคนิกการสอน "คณิตศาสตร์"
การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย(Deductive  Method)
1. ความหมาย การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย(Deductive  Method)หมายถึกระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ  ทฤษฎี  หลักเกณฑ์  ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน  จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง  หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี   หลักการ หลักเกณฑ์  กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย   หรืออาจเป็นหลักลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี  กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น  การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์  ทฤษฎี  ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า  เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด
2.ขั้นตอนการสอน การสอนแบบนิรนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.)  ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา  เป็นการนำเข้าสูบทเรียนโดยการเสนอปัญหาหรือระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา  เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ  ปัญหาที่จะนำเสนอควรจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
             2. )   ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี  หลักการ  เป็นการนำเอาทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปที่ต้องการสอนมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎี  หลักการนั้น
              3. )   ขั้นใช้ทฤษฎี  หลักการ  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้
              4. )    ขั้นตรวจสอบและสรุป  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ว่าถูกต้อง  สมเหตุสมผลหรือไม่  โดยอาจปรึกษาผู้สอน  หรือค้นคว้าจากตำราต่างๆ  หรือจากการทดลอง  ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริง  จึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
             5.)    ขั้นฝึกปฏิบัติ  เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  พอสมควรแล้ว  ผู้สอนเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่หลากหลาย
            3. ประโยชน์
                   1.  เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่าย  รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก 
2.  ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก
3.   ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
4.   ใช้ได้ผลดีในการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษาและคณิตศาสตร์
5.   ฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
     แหล่งอ้างอิง  https://sites.google.com/site/prapasara/15-1  นายอุรุพงษ์ โคดี 51314519 เอกคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ 

การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม(Questioning Method)
          1.ความหมาย
                   การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม(Questioning Method)เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
          2. ขั้นตอนการสอน
                  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถามมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้                                                       
                              1.)ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ ของบทเรียน
                              2. )ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์ 
                              3.)ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสม กับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
                      4.) ขั้นสรุปและประเมินผล
             4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
             4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริ
          3. ประโยชน์
1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6. ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
ที่มาของข้อความ http://mathlearning54.blogspot.com/
ตัวอย่างสื่อเทคโนโลยีและแหล่งการสืบค้นประกอบ การเรียนรู้คณิตศาสตร์

1) อุปกรณ์พกพา (handheld devices)
อุปกรณ์พกพาที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น เครื่องคํานวณเชิงกราฟ และ เครื่องเก็บ ข้อมูลภาคสนาม เป็นสื่อการเรียนรู้ชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมาก มีหน่วยความจําซึ่งสามารถใช้งานได้หลายอย่างคล้ายกัคอมพิวเตอร์ แต่มีขนาดเล็ก พกพาติดตัวได้สะดวก ใช้ได้ ทุก สถานที่แม้ไม่มีไฟฟ้าก็สามารถใช้งานได้ ข้อดีที่เห็นได้ชัดคือการใช้งานง่ายและเห็นภาพที่ สมบูรณ์ของฟังก์ชันต่างๆ ได้ ทําให้การเรียนสามารถสร้างกราฟได้อย่างรวดเร็ว สามารถแยกเป็น ส่วน ๆ ได้ และสามารถเปรียบเทียบลักษณะกราฟของแต่ละฟังก์ชันได้ นักเรียนที่ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีในการเรียนเกี่ยวกับการคํานวณ การเขียนกราฟ และสัญลักษณ์ทาง คณิตศาสตร์ ช่วยให้นักเรียนสามารถสรุปมโนทัศน์ และสาระสําคัญได้ด้วยตนเอง ช่วยพัฒนา ความคิดทางคณิตศาสตร์ และช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น โดยครูมีบทบาทเป็นผู้ อํานวยความสะดวกและจัดสภาพการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการ เรียนรู้ของนักเรียน ในปัจจุบันได้มีคอมพิวเตอร์พกพาออกมาใช้บ้างแล้ว ต่อไปบทบาทของอุปกรณ์พกพาดังที่ กล่าวมาข้างต้น จะมีมากขึ้น ซึ่งจะยังประโยชน์ต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย
2) Learning Object
ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมมือกับ Curriculum Corporation (CC) และ The Learning Federation (TLF) ประเทศออสเตรเลีย ดําเนินโครงการพัฒนาสื่อดิจิทัลประกอบหลักสูตรระดับโรงเรียน ที่นํามาทดลองใช้ในประเทศ ไทย โดยปรับให้เข้ากับบริบทหลักสูตรของประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาขึ้นตามความต้องการของ ผู้ใช้หลักสูตรคือครูและนักเรียน เน้นการพัฒนามัลติมิเดียเพื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่ เรียกว่าLearning Object ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่ออกแบบเพื่อให้นักเรียนบรรลุผลการ เรียน รู้ที่คาดหวังอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะในแต่ละเรื่อง ครูผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย ตามวัตถุประสงค์ทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนร่วมพัฒนาและผลิตสื่อ ต้นแบบ เป็นการส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานสื่อดิจิทัล รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตสื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูล การใช้ได้จากสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันส่ง เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ที่มารูปภาพ https://goo.gl/7n6Tdk

3) โปรแกรม Microsoft Excel
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดโปรแกรมMicrosoft Office ซึ่งเป็น โปรแกรมที่มีใช้ในสํานักงาน หน่วยงานต่างๆ การให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมนี้ จึงเป็น การเตรียมบุคลากรของประเทศให้สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีก ทางหนึ่ง โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสร้างตารางคํานวณในลักษณะต่าง ๆ เช่น กระดาษ ทดทั่ว ๆ ไป ตารางข้อมูล และบัญชีรายรับ - รายจ่าย การเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ของ ข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ครูสามารถเลือกนํามาใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ได้หลายลักษณะ เช่น การคํานวณดอกเบี้ย กําไร - ขาดทุน และการเขียนแผนภูมิ

4) ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการเรียนรู้แบบออนไลน์ เป็นการใช้เทคโนโลยี เพื่อการ เรียนรู้ที่ตอบสนองความสนใจของนักเรียน ให้สามารถแสวงหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจได้ สิ่ง ที่สําคัญในการสร้ากระบวนการเรียนรู้ จึงเริ่มจากการที่ครูต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับ เทคโนโลยีและกระบวน การต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการบูรณาการสร้างความรู้ ตลอดจนการ สร้างรูปแบบการศึกษาแนวใหม่ที่นําเครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาใช้ผสม ผสานช่วยในการศึกษาและโดยธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียนเองก็จะเป็นผู้แสวงหาและใฝ่หาเพื่อการ เรียนรู้อยู่แล้ว ครูจึงเสมือนเป็นผู้เสริมแต่งและสร้างแนวทาง รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการ เรียนรู้ เน้นวิธีการเรียนรู้แนวใหม่ที่สามารถเรียนรู้ร่วมกันทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน โดย ไม่จํากัดเวลา สถานที่ และบุคคล ครูจึงควรแนะนําเว็บไซต์ที่น่าสนใจและเหมาะสมแก่นักเรียน รวมทั้งอาจกําหนดให้นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้จากเว็บไซต์เหล่านั้น เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียน ได้เห็นประโยชน์ของการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
ที่มาของข้อมุล http://siwarin-kenthawi.blogspot.com/2011/09/blog-post_16.html

เทคนิกการสอนง่ายๆคะ^^


ที่มาของวิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=hhAgMRx8dXE
นวัตกรรมการสอนคณิตศาสตร์
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
 นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา อันได้แก่ แนวคิด เทคนิค วิธีการกระบวน การ แนวปฏิบัติ หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนของครู และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งอาจพิจารณาได้ ดังนี้
1. เป็นสิ่งที่ใช้แล้วจากที่อื่น แต่นำมาใช้ใหม่ที่นี่
2. เป็นสิ่งที่เคยใช้มาแล้วจากที่อื่น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่
3. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่เพิ่งนำมาทดลองใช้
4. เป็นสิ่งที่ผลิต/สร้างขึ้นใหม่และทดลองใช้ที่นี่เป็นครั้งแรก
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดี
บทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอน
แบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตร
วิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาล
การบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ที่มาข้อความ http://goo.gl/Z9hwxE
ที่มารูปภาพ http://goo.gl/FiKMOT
มาทำลูกบอลเรขาคณิตกันเถอะ

ที่มาวิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=-PjZUQ89ipw
นวัตกรรม หทายถึง การกระทำสิ่งใหม่ที่สร้างสรรค์มีหลายรูปแบบ เช่น ผลิตภัณฑ์ กระบวณการต่าวๆ เช่น นวัตกรรมเพื่อการสึกษาเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา
ที่มาของรูปภาพ http://goo.gl/3Vflnl

่่
ที่มาของวิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=Kc4LHqkJHBM